ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงวันที่ 8 ก.ย. แค่ตรวจหลักฐานและคำชี้แจง ไม่มีการลงมติตัดสินปม 8 ปี ประยุทธ์ พร้อมสั่งตรวจหลังเอกสาร มีชัย หลุด เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงก่อนการประชุมปมนายก 8 ปี ในวันที่ 8 กันยายนนี้ว่า ยังไม่ใช่การลงมติพิจารณาให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมว่าจะพ้นตำแหน่งหรือได้ดำรงตำแหน่งต่อ
สำหรับวาระการประชุมของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 8 กันยายนนี้
จะเป็นพิจารณาว่าข้อมูลหลักฐานพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอศาลสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ หากสิ้นข้อสงสัยจะนัดลงมติวินิจฉัยปม 8 ปี ประยุทธ์ ได้ทันที
ส่วนเอกสารคำชี้แจงของ มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่หลุดออกไป ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีความกังวลและเสียใจ สั่งตรวจสอบข้อบกพร่องในขั้นตอนทางธุรการแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อการให้ข้อมูลของคู่ความ และการพิจารณาคดี ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่ยืนยันเป็นเอกสารจริงหรือไม่
โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาทั้ง 7 คน เห็นว่าบทบัญญัติ กำหนดวาระ 8ปี ดังกล่าว หมายถึงนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น
ข้อ 3. ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยถึงสถานะความเป็นรัฐมนตรี เมื่อปี 2562 และ 2561 เกี่ยวกับความเป็นรัฐมนตรีของ ว่า คณะรัฐมนตรีที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ถือเป็นรัฐมนตรี นับจากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ และต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560
ข้อ 4. ยืนยันว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตน ไม่ขัดกับหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะการจำกัดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้นำประเทศ ตามมาตรฐานสากล เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรม ไม่ปล่อยให้ผู้มีอำนาจอยู่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดยาวนานเกินไป ไม่ปล่อยให้คนทุจริต มีอำนาจทำการทุจริตได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และข้กำหนดนี้มิใช่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว ยังระบุคำชี้แจงของพลเอกประยุทธ์ ว่า ข้าพเจ้าสำนึกและปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตลอดมาด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและด้วยความจงรักภักดี ด้วยสำนึกในหน้าที่และประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน สูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ข้าพเจ้าเชื่อว่า สำนึกในการปฏิบัติหน้าที่และดำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยอันเป็นหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ใช่เฉพาะแต่ฉบับ 2560
นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า ว่าข้าพเจ้าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ตราบใด ที่ข้าพเจ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะที่เป็นเหตุให้เสียหายต่อประโยชน์ของประเทศ ประโยชน์สาธารณะของประชาชนแล้วระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขัดต่อหลักมาตรฐานสากลและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่อย่างใด
ข้าพระเจ้าเชื่อโดยสุจริต บนพื้นฐานของหลักกฎหมาย หลักนิติธรรมและมาตรฐานสากลว่าการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของข้าพเจ้าในปัจจุบันยังไม่เกิน 8 ปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เพราะไม่อาจนำระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2557 ซึ่งสิ้นสุดลงไปแล้ว มานับรวมกับนายกรัฐมนตรีหลังรัฐธรรมนูญปี 2560 บังคับใช้ได้
ดร.เอ้ แนะ วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม เสนอใช้ ‘แก้มลิงใต้ดิน’ แก้ได้ยั่งยืน
ดร.เอ้ โพสต์ข้อแนะนำ วิธีแก้ปัญหาน้ำท่วม หลังกรุงเทพเจอฝนถล่ม เสนอใช้แก้มลิงใต้ดิน แก้ได้ยั่งยืน เพราะตอนนี้เครื่องสูบน้ำระบายไม่ทัน นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ อดีตผู้สมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กแสดงความเห็นแนะนำวิธีแก้น้ำท่วม หลังจากหลายพื้นที่ในกรุงเทพต้องเผชิญน้ำท่วม
ดร.เอ้ แนะนำวิธีแก้น้ำท่วมว่า “ฝนจะตกหนักขึ้น น้ำท่วมจะมากขึ้น แม้ลอกคูคลอง ยังไงก็ระบายไม่ทัน เพราะเครื่องสูบน้ำ ต้องปั๊มน้ำท่วมขึ้นแม่น้ำเจ้าพระยา หากน้ำเหนือ น้ำหนุนมายิ่งระบายไม่ได้
จึงต้องพักน้ำท่วมไว้ก่อนใน “แก้มลิงใต้ดิน” จะทำให้ถนนแห้งแล้วค่อยสูบระบายหลังฝนหยุด จะแก้น้ำท่วม ได้อย่างยั่งยืน”
ขณะที่ชาวเน็ตที่เป็นผู้ติดตามก็ได้มาหนุนความคิดแก้ปัญหาน้ำท่วมของ ดร.เอ้ พร้อมหวังว่านาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบันจะนำคำแนะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม
ข้อ 5. บันทึกการประชุมของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 500 เมื่อปี 2561 ที่ระบุความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า สามารถนับรวมระยะเวลาก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ได้นั้น พบว่า เอกสารดังกล่าวไม่ใช่บันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงบทสนทนาของนายมีชัย กับนายสุพจน์ ไข่มุก เท่านั้น
ข้อ 6. ข้ออ้างที่ระบุ ว่า ข้าพเจ้าไม่เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย ป.ป.ช. ว่า เป็นนายกรัฐมนตรีมาต่อเนื่องนั้น ไม่สามารถนำมาพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้
ข้อ 7. ศาลรัฐธรรมนูญต้องตีความและใช้รัฐธรรมนูญ วินิจฉัยลักษณะและลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายไม่ใช่ตามข้อเท็จจริงรับรู้โดยทั่วไปของประชาชน เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ เพราะการรับฟังข้อเท็จจริงที่รู้กันโดยทั่วไป เป็นหลักที่ใช้ในการฟังพยานหลักฐานของศาลเท่านั้น ไม่ใช่หลักกฎหมายที่ใช้ในการตีความกฎหมาย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป